ฤดี

สารซักและการทำความสะอาดผ้า

หน้าปกรูปสะพานตอนกลางคืน

    ในการทำความสะอาดเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายนั้น นอกจากเรียนรู้วิธีเลือกเครื่องซักผ้าแล้ว เราควรเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลือกใช้สารเคมีและวิธีในการซักให้เหมาะสมตามรายละเอียดของเนื้อผ้าซื้อพบได้ที่ "แท็กการดูแลรักษาผ้า" ที่เย็บติดกับเสื้อผ้าของท่าน เพื่อให้เสื้อผ้าของท่านนั้นมีความคงทน และคงคุณสมบัติที่ดีของเนื้อผ้านั้นๆได้ดีที่สุด

สารซักฟอกและทำความสะอาดแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

  1. สารซักฟอกเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย

        สารซักฟอกที่ทำหน้าที่ช่วยกำจัดคราบสกปรกในการซักส้าง มักเรียกรวมๆว่า Detergent ในส่วนที่เป็นสิ่งสกปรกเปรอะเปือนเสึ้อผ้า คราบสกปรก จะถูกกำจัดออกด้วยการซักล้าง ซึ่งต้องอาศัยน้ำ สารซักฟอก แรงขยี้ หรือการขัดถู แต่ส่วนมากคราบสกปรก ซึ่งโดยปกติมักจะเกิดจากคราบอาหาร อาหารกล่องที่เลอะเปรอะเปื้อน ส่วนใหญ่จะมีสารประกอบจำพวกไขมันปนอยู่ จึงต้องอาศัยสารซักฟอกเข้าช่วย

        สารเคมีที่ใช้ในการซักล้าง ทำหน้าที่ 2 ส่วนคือ ส่วนที่ดึงดูดน้ำได้ (Hydrophilic Group) และส่วนที่ไม่ดูดน้ำ แต่ชอบดึงดูดไขมัน (Hydrophobic หรือ Oleophilic Group)

        เมื่อผิวหน้าของผ้าหรือภาชนะที่มีสิ่งสกปรกเปรอะเปื้อนไขมันติดอยู่จะมีแรงตืงผิวสูง น้ำไม่สามารถซืมผ่านเข้าไป ทำให้เปียกได้และไม่ส่งมารถกำจัดคราบสกปรกแอกได้โดยง่าย สารซักฟอกจะช่วยลดแรงตึงผิวทั้งส่วนที่เป็นน้ำและไขม้น โดยแทรกผ่านสิ่งสกปรกเข้าไปเพื่อการซักล้าง ขบวนการซักล้างนี้จะเป็นไปโดยรวดเร็วขึ้นถ้ามีการขยี้ เขย่า หรือรัดถูร่วมด้วย ขบวนการนี้เกิดขึ้นเพราะโมเลกุลของสารซักฟอก เช่น สบู่ หรือผงซักฟอก ใช้ส่วน Hydrophobic ดืงดูดคราบสกปรกที่เป็นไขมัน ขณะเดียวกันก็ใช้ส่วนที่เป็น Hydrophilic จับกับโมเลกุลน้ำที่อยู่รอบ ๆ สิ่งสกปรก เพื่อดึงดูดสิ่งสกปรกให้หลุดออกจากเสึ้อผ้า แล้วแขวนลอยอยู่ในน้ำ โดยไม่ย้อนกลับไปตกค้างที่ผ้าอีก

    1. สบู่ (Soap)


        เป็นสารอินทรีย์ชนิดหนึ่งจัดเป็นเกล็ดของกรดไขมัน ทำจากไขสัตว์ หรือน้ำมันพืช และด่าง มีวิธีทำโดยนำไขสัตว์หรือนำมันพืชมาทำให้เป็นของเหลวโดยใช้ไอน้ำร้อนอบแล้วนำไปเคี่ยว โดยเติมด่างลงไป ต่างที่ใชคอโซดาไฟ (NaOH) หรือด่างคลี (KOH) ผลสุดท้ายของปฏิกิริยาจะได้สบู่หรือกลีเซอรีน

        การใช้สบู่จะไม่มีประสิทธิภาพเต็มที่ เมื่อใช้กับน้ำกระด้าง เพราะเกลือแคลเซียมและแมกนีเซียมในน้ำกระด้าง จะรวมตัวกันกับสบู่ เป็นเกลือสบู่ตัวใหม่ ที่ไม่ละลายน้ำเไคลสบู่ ซึ่งจพไม่สามารถทำหน้าที่จับเกาะสิ่งสกปรก การซ้กล้างด้วยสบู่ในน้ำกระด้างจะทำให้สิ้นเปลืองสบู่มากกว่าการซักในน้ำอ่อน เสึ้อผ้าจะมีสีเทา ไม่ขาวสะอาด เนื่องจากคราบไคลสบู่สีขาวจะไปจับสิ่งสกปรกบนเสึ้อ เวลาซักน้ำจะไม่หลุดออกไปหมดและไม่ละลายน้ำด้วย ทำให้เสึ้อผ้าไม่สะอาด

    2. ผงซักฟอก (Detergent)


     ผงซักฟอกใช้กับเครื่องซักผ้ายี่ห้อไหนดี

        Detergent หรือสารขจัดสิ่งสกปรก มาจากภาษาละตินที่มีความหมายว่า "เช็ดออกไป" ฉะนั้น สารใดก็ตามที่มีลักษณะของโมเลกุลที่ปลายข้างหนึ่งละลายในน้ำและปลายข้างหนุึ่งละลายในน้ำมันหรือสารประกอบไฮโดรเจน เรียกว่าเป็น Detergent ทั้งสิ้น หรืออาจเรียกผงซักฟอกว่าเป็น Surfacetant ก็ได้ เนื่องจากผงซักฟอกมีดีกว่าสบู่ตรงที่สามารถใช้ซักล้างได้ในทั้งน้ำอ่อนและน้ำกระด้าง ผซักฟอกที่ใช้กันทั่วไปจึงมีสาร Surfactant และสารชนิดอื่นๆ ที่ทำหน้าที่ต่างๆร่วมกันในการทำความสะอาดและซักล้าง

        ผงซักฟอกเป็นสารสังเคราะห์ที่ผลิตขึ้นสำหรับการซักล้างทำความสะอาดเสื้อผ้าและวัตถุต่างๆ ในบ้าน ผงซักฟอกมีคุณสมบัติลดแรงตึงผิวของน้ำ ทำให้ผ้าหรือวัสดุต่างๆเปียกน้ำได้ง่ายและเร็วยิ่งขึ้น และช่วยในการกำจัดสิ่งสกปรกจำพวกไขมัน ฝุ่นละอองให้หลุดลอยไปละลายอยู่ในน้ำ

    3. น้ำยาซักแห้ง (Dry Cleaning Solution)


    น้ำยาซักแห้งใช้กับเครื่องซักผ้ายี่ห้อไหนดี

        เป็นสารละลายผสมที่ประกอบด้วยตัวทำละลาย ได้แก่ คาร์บอนเตตะคลอไรด์ (CCI4) ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Carbona , แนฟต้า (Naphtha) ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมและอะซีโตน สำหรับน้ำยาซักแห้งที่มีขายในท้องตลาดปัจจุบันมักมีส่วนประกอบคล้ายคลึงกับแชมพูสระผม คือมีสารประกอบโซเดียมลอรัลซัลเฟตเป็นองค์ประกอบสำคัญ

        ส่วนการซักแห้งนั้นหมายถึง การใช้สารเคมีหรือน้ำมันเป็นตัวทำละลายสิ่งสกปรกในการทำความสะอาดเสื้อผ้า แล้วทำความสะอาดด้วยน้ำหรือก็ไม่ใช้น้ำเลย การซักแห้งที่ถูกต้องนั้นจะไม่เป็นอันตรายต่อเสื้อผ้า จะต้องเลือกใช้ตัวทำละลายที่เหมาะสมกับชนิดของเนื้อผ้านั้นๆ ไอระเหยจากคาร์บอนเตตะคลอไรด์เป็นอันตรายต่อระบบหายใจ ดังนั้นการใช้น้ำยาซักแห้งควรทำที่ร้านซักแห้ง ไม่ควรทำด้วยตนเอง

        ผ้าที่จำเป็นหรือควรซักด้วยวิธีซักแห้งนั้นได้แก่ผ้าขนสัตว์และผ้าไหม ซึ่งต้องการความระมัดระวังเป็นพิเศษในการดูแลรักษา เพราะเส้นใยทั้งสองชนิดนั้นมีความบอบบาง เสื่อมคุณภาพได้ง่าย

  2. สารลบรอยเปื้อนเฉพาะจุดบนเสึ้อผ้า

    สารลบรอยเปื้อนที่ไม่มีไขมัน

        รอยเปื้อนบางชนิดไม่อาจซักได้ด้วยการซักแห้งหรือซักด้วยผงซักฟอก แต่ต้องอาศัยตัวทำละลายต่างๆ การที่จะใช้สารใดย่อมขึ้นอยู่กับชนิดของรอยเปื้อนนั้นๆ ว่าเปื้อนอะไร และควรใช้ตัวทำละลายชนิดใดที่จะเหมาะสม ซึ่งต้องใช้ความระมัดระวัง เพราะตัวทำละลายอาจเป็นพิษและบางชนิดติดไปง่าย

    ตัวทำละลายเพื่อลบรอยเปื้อนที่ไม่มีไขมัน นอกจากน้ำผงซักฟอกกับสบู่แล้ว ยังมีสารที่สามารถลบรอยเปื้อนได้ดี เช่น



    -อาซีโตน (Acetone) ใช้ทำความสะอาดและขจัดรอยเปื้อนจำพวกยาทาเล็บ และหมึก จากปากกาหมึกแห้ง ไม่ควรลบรอยเปื้อนกับเส้นใย อาซีเตค ไตรอาซีเตค ใช้สำลีชุบอาซีโตน และเช็ดบนรอยเปื้อนจนสะอาดแล้วซักด้วยผงซักฟอก และน้ำสะอาดในขั้นสุดท้าย



    -แอลกอฮอล์ (Alcohol)ใช้ขจัดรอยเปื้อนได้หลายชนิดไม่เป็นอันตรายต่อสีของผ้า เช่น รอยเปื้อนจากยาขัตรองเท้า หมึกจากกระดาษคาร์บอน เวลาใช้ถ้าใช้กับผ้าพวกอาซีเตด ต้องผสมน้ำประมาณสองเท่า

    -เอมิลอาซีเตด (Amyl acetate) ชนิดบริสุทธิ์ชนิดบริสุทธื้ ใช้สำหรับลบรอยเปื้อนบนผ้าอาซีเตด และ ผ้าที่ใช้กับอาซีโตนไม่ได้ สำหรับเอมิลอาซิเตดไม่บริสุทธิ์อาจเป็นอันตรายต่อผ้าเช่นเดียวกับอาซีโตน

    -น้ำมันสนใช้ลบรอยเปื้อนจากสีทาบ้านชนิดต่าง ๆ โดยวางรอยเปื้อนลงบนกระดาษ ซับ ใช้สำลีชุบน้ำมันสนพอประมาณ เช็ดบนรอยเปื้อนหลาย ๆ ครั้ง จนหมดและนำไปซักกับ ผงซักฟอก และน้ำสะอาดอีกครั้งหนึ่งผ้าก็จะสะอาด สารลบรอยเปื้อนทั้งอาซีโตน แอลกอฮอล์ อามิลอาซีเตด และน้ำมันสน เป็นสารที่ ติดไฟง่าย และเป็นพิษ ผู้ใช้ต้องให้ความระมัดระวังและเก็บให้พ้นมือเด็กเล็ก

    สารลบรอยเปื้อนที่มีไขมัน

        สารลบรอยเปื้อนที่เป็นไขมันที่นิยมใช้กันมาก ได้แก่ น้ำมันก๊าด และแนฟต้า (Naphtha) เป็นสารที่ติดไฟง่ายต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้ ส่วนสารลบรอยเปื้อนที่เป็นไขมันอีกพวก หนึ่งจะไม่ติดไฟ ได้แก่ คาร์บอนเทตะคลอไรด์ (Carbon Tetrachloride), Trichloroethylene, Perchloroethylene

    วิธีใช้ตัวทำละลายเพื่อลบรอยเปือ้นที่เป็นไขมันเหล่านี้มีวิธีใช้คล้ายคลึงกันคือ วางผ้า ส่วนที่มีรอยเปื้อนบนผ้าหรือกระดาษซับโดยใหผวหน้าของผ้าที่เปื้อนคราบนั้นสัมผัสกับวัสดุ ที่รองซับ ใช้สำลีหรือผ้านุ่ม ๆ ชุบลารละลายแตะกดที่รอยเปื้อนนั้น วัสดุที่ใช้ซับควรเปลี่ยน บ่อย ๆ ควรปฏิบัติในที่มีอากาศหมุนนวียนได้ดี สำหรับผ้าที่มักจะเป็นวงเนื่องจากรอยคราบ ซึมกระจายไปสะสมที่เส้นใยรอบ ๆ รอยเปื้อน อาจใช้ตัวทำละลายผสมกับแป้งใหัมีลักษณะ เปียกเเต่ไม่เหลว ใช้ป้ายบาง ๆ ที่รอยเปื้อนนั้นเมื่อแห้งให้ซักออก ถ้ารอยคราบยังไม่หมดให้ ทำ ซ้ำๆอีก

        นอกจากรอยเปื้อนทั้งสองประเภทที่กล่าวมาแล้ว ยังมีรอยเปื้อนอื่น ๆ ที่ไม่สามารถ ลบรอยเปื้อนด้วยสารด้งกล่าว เพราะไม่ได้อยู่ในทั้งสองประเภท สารลบรอยเปื้อนที่จะกล่าว ถึงนี้ มักอาจทำให้สีของเสึ้อผ้าเปลี่ยนเเปลง ก่อนใช้จึงควรทดลองก่อนและควรปฏิบัติตามคำแนะนำ การใช้อย่างเคร่งครัด สารเหล่านี้ได้แก่

    1. สารฟอกขาว (BIeach)
        เป็นสารลบรอยเปื้อนที่ใช้มากที่สุด และต้องให้ความ ระมัดระวังในการใช้มาก เพราะถ้าใช้ในปริมาณที่มากหรือเข้มข้นจะทำให้ผ้าเสื่อมคุณภาพ และเปื้อนขาดได้ง่าย ไม่ควรใช้กับผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ รวมทั้งผ้าที่มีการตกแต่งเพื่อเพิ่มคุณ สมบัติพิเศษ และไม่ควรใช้สารฟอกขาวกับภาชนะที่เป็นโลหะ เพราะโลหะจะเร่งปฏิกิริยา การฟอกขาว ทำให้เป็นอันตรายต่อผ้ามากขึ้ิน สารฟอกขาวที่ควรใช้ตามบ้าน ได้แก่ คลอรีน (chlorlne bleach) เปอร์ออกซิเจน (peroxygen bleach) ถ้าใช้สารฟอกขาวทั้งสองชนิดนี้แล้ว ยังไม่ได้ผล อาจใช้สารขจัดสี (colour remove) แต่สารนี้จะทำให้สีหลายชนิดซีดจางลง ควร ทดลองดูก่อนถ้าผ้าเปลี่ยนสีไปแต่ไม่ซีด ให้นำไปซักและตากลมทันทีสีจะกลับเหมือนเดิมแต่ ถ้าสีซีดสีจะไม่สามารถกลับเป็นสีเดิมได้
    2. กรดน้ำส้ม (Acetic Acid)
        ใช้ลบรอยเปื้อนจากสิ่งสกปรกที่เป็นด่าง เพราะจะทำ ให้ด่างเป็นกลาง ควรใช้ขนาดความเข้มข้นประมาณ 10% เพราะจะปลอดภัยกับผ้าทุกชนิด แต่อาจทำให้ผ้าสีเปลี่ยนไปบ้าง แก้ไขได้โดยล้างด้วยน้ำแล้วเช็ดด้วยแอมโมเนีย จนสีกลับ เหมือนเดิม ต่างจะเป็นอันตรายต่อผ้าไหมและผ้าขนสัตว์ เมื่อสิ่งสกปรกที่เป็นด่างเปรอะเปื้อน ผ้าต้องรีบล้างด้วยน้ำเปล่าทันที แล้วเช็ดด้วยกรดน้ำส้ม 5-10% แล้วซักด้วยน้ำสะอาดต่อไป นัำส้มสายชูสามารถใช้แทนกรดน้ำส้มได้ เพราะมีปริมาณของกรดน้ำส้มประมาณ 5%

    3. แอมโมเนีย
        ใช้ลบรอยเปื้อนเสึ้อผ้าที่ถูกกรดใช้ได้กับผ้าทุกชนิดยกเว้นผ้าไหม และผ้าขนสัตว์ ควรใช้ความเข้มข้นของแอมโมเนียประมาณ 10% ถ้าผ้าเปลี่ยนสีให้เช็ดด้วย กรดน้ำส้มหรือน้ำส้มสายชู 5% แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาดสีจะกลับเหมือนเดิม

    4. ไอโอดีน
        ใช้สารละลาย Tincture of iodine ลบรอยเปื้อนของซิลเวอร์ไนเตรท (Silver Nitrate)

    5. กรดอ๊อกซาลิค (Oxclic Acid)
        ใช้ได้กับผ้าทุกชนิดที่เปื้อนสนิมเหล็กและโลหะ ต่าง ๆ ขนาดที่ควรใช้กรดออกซาลิค 1 ช้อนโต๊ะ + น้ำอุ่น 1 ถ้วยตวง ผ้าจะเปลี่ยนสีเล็กน้อย วิธีแก้โดยใช้แอมโมเนียทาให้ทั่วบริเวณสีที่เปลี่ยน ล้างออกให้หมด มิฉะนั้นผ้าจะเสื่อมคุณภาพ กรดออกซาลิคเป็นเกล็ดสีขาวเป็นพิษ

    6. ไฮโดรเจนเปอร์อ๊อกไซด์ (H2o2)
        จัดเป็นสารฟอกขาวชนิดหนึ่ง (Peroxygen Bleach) ใช้ลบรอยเปื้อน ยางกล้วย ยางมะม่วง ยางมังคุด และยางมะปราง รอยเปื้อนจากยางผลไม้เหล่านี้ ถ้าสามารถลบรอยเปือ้นได้เร็วที่สุดจะทำให้สามารถลบออกได้ง่าย

  3. สารที่ใช้ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรค

    3.1 ฟีนอลหรือกรดคาร์บอลิค (Phenol)
        ใช้สำหรับฆ่าเชื้อโรค โดยละลายสาร ฟีนอล 1 ออนซ์ กับน้ำ 3 ควอตซใช้ฆ่าเชึ้อบักเตรีให้ตายได้ภายใน 5 นาที และใช้เป็นส่วน ผสมของสบู่ยาที่ใช้ฆ่าเชื้อโรคที่เรียกว่า สบู่คาร์บอลิค


    3.2 เครซอล (cresol)
        เป็นสารฆ่าเชื้อที่ออกฤทธื้แรงกว่าฟีนอล ราคาถูกกว่า ไม่ต้องระมัดระวังในการใช้เท่าฟีนอล น้ำยาทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคตามบ้านเรือน เช่น ไลโซล (Lysol) จะมีส่วนผสมของเครซอลหรือสารประกอบที่คล้ายคลึงกันเป็นส่วนผสมอยู่ด้วย


    3.3 เฮกซะคลอโรฟิลด์ (Hexachlorophyll)
        เป็นสารสังเคราะห์ที่ผลิตขึ้นเพื่อ ฆ่าเชึ้อบักเตรีและเชื้อรา ออกฤทธื้ฆ่าบักเตรีแรงกว่าฟีนอลประมาณสิบเท่า และไม่ทำให้เชึ้อบักเตรี ดึ้อยา ใช้ไนการฆ่าเชึ้อบริเวณผิวหนัง จึงนำไปผสมในสบู่ ยาระงับกลิ่นตัว และเครื่องสำอางค์ ผลิตภัณฑ์ที่มีเฮกซะคลอโรฟิลล์ที่รู้จักกันทั่วไป คือ สบู่ไดอัล ไฟโซเฮกซ์ และไฟโซเดอร์ม เป็นต้น ความเข้มข้นของสารนี้จะมีตั้งแต่ 0.5- 5% แต่ที่นิยมใช้กันคือ 3% ไม่ควรใช้ไนปริมาณ ที่เข้มข้นมาก จะเป็นอันตรายต่อผิวหนังทำใหผิวหนังอักเสบ ไวต่อแสง ผิวหนังที่เป็นแผลจะ ดูดซึมได้ง่าย และถ้ามีปริมาณเฮกซะคลอโรฟิลล์ตกค้างอยู่สูงในเลือดจะเกิดอาการทางสมอง ได้ สำหรับเด็กทารกไม่ควรใช้สบู่ที่มีส่วนประกอบของสารสังเคราะห์นี้อาบน้ำให้เด็กทารก


    3.4 ผงฟอกจาง (BIeaching powder)
        เป็นผงสีขาวหรือขาวแกมเท่ามีกลิ่นคล้าย คลอรีนใช้ในการฟอกสีเยื่อกระดาษ ผ้าลินิน ผ้าฝ้าย ฟาง น้ำมัน สบู่ ใช้ไนการพิมพ์ผ้าดอก ตรงลวดลายที่ต้องการวิธีทำโดยนำสิ่งที่จะฟอกจางจุ่มลงในสารละลายของผงฟอกจาง แล้วจุ่ม ลงในกรดกำมะถันเจือจางล้างน้ำให้สะอาด แช่ผ้าลงในสารโซเดียมไฮโอซัลเฟต เพื่อทำลายคลอรีนที่เหลือตกค้างอยู่ออกให้หมด


    3.5 คลอรอกซ์ (Chlorox)
        คือส่วนประกอบของคลอรีนที่ละลายน้ำ มีความ เข้มข้นมาก ใช้สำหรับการฆ่าเชื้อโรคในน้ำ ล้างผัก ผลไม้ สามารถฆ่าไข่พยาธิบิดมีตัว ที่ เรียกว่า บิดอะมิบาได้ ซึ่งน้ำด่างทับทิมไม่สามารถฆ่าได้ และคลอรอกซ์ยังใช้แช่เสึ้อผ้าฝ้าย หรือผ้าลินินให้ขาวสะอาด แต่ควรใช้ในปริมาณเจือจางจะปลอดภัยที่สุด


    3.6 ด่างทับทิม (KMno4)
        ใช้สำหรับการฆ่าเชื้อโรคทั่วไป คือด่างทับทิมละลาย น้ำจะได้สีชมพูบานเย็น ใช้ล้างผักและผลไม้ ถ้าใช้ด่างทับทิมในอัตราส่วน 1 : 10,000 ใช้เป็น น้ายาบ้วนปาก ต้องระวังอย่าดมกลิ่นเข้าไปจะเป็นอันตราย ถ้าใช้ด่างทับทิมในอัตรา 1 : 1,000 โดยใช้น้ำอุ่น จะใช้ฆ่าเชื้อราตามนิ้วมือ นิ้วเท้า ให้ใช้ครงละประมาณ 15-20 นาที วันละ สองครั้ง เช้าเย็น จะได้ผลดี

    แชร์หน้านี้ให้เพื่อน: